6 สิ่งที่ควรรู้ ถ้าอยากเขียนให้คนแชร์เยอะ

Apsa_sue
3 min readOct 26, 2017

วันก่อนผมได้ไปอ่านเจอ บทความหนึ่งที่น่าสนใจมาก และเลยอยากนำมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน บทความนั้นมีชื่อว่า

What Makes Content Go Viral: Our Analysis Of 50 Million Articles

บทความที่พูดถึงการศึกษาลักษณะเด่นของโพสตามโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ ว่า โพสลักษณะแบบไหนบ้าง ที่มีการแชร์เยอะ และสรุปออกมาได้ 6 ข้อด้วยกัน

เอาหล่ะ จะมีอะไรกันบ้าง ลองไปติดตามกันครับ และตอนท้าย ผมมีเกร็ดความรู้เพิ่มเติมจากบทความนี้ มาเล่าให้เพื่อนๆฟังด้วยครับ

*บทความนี้ เป็นบทความแรกๆ ที่ผมอยากแปลมาให้เพื่อนๆได้อ่านกัน ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ*

1. ยิ่งบทความยาว เรายิ่งแชร์

ก่อนหน้านี้ เราอาจจะคิดว่า บทความสั้นๆ อ่านง่ายๆนี่แหละ ที่คนจะชอบแชร์กัน แต่แท้จริงแล้ว พอลองมาศึกษาดูดีๆ จะพบว่า ยิ่งบทความใด ที่มีจำนวนตัวอักษรมาก คนจะยิ่งแชร์โพสนั้นมากขึ้น โดยจากกราฟนี้ครับ

เป็นกราฟ จำนวนการแชร์ VS จำนวนตัวอักษร

ขอบคุณภาพ https://cdn-images-1.medium.com/max/800/0*-LyciMopMsfZ-RSP.png

จะพบว่า ผู้คนส่วนใหญ่ มีแนวโน้มที่จะชอบแชร์บทความที่มีขนาดยาวมากกว่า บทความหรือ โพสสั้นๆ โดยโพสสั้นๆ พวกเขามักจะแค่ กดไลค์ หรือ คอมเม้น แล้วก็ปล่อยผ่าน โดยไม่แชร์ เช่น โพสที่เป็นภาพตลกๆ ตรงกันข้าม หากเป็นบทความที่มีขนาดยาว พวกเขาจะชอบแชร์เพื่อแบ่งปันให้คนอื่นได้อ่านมากขึ้น ยิ่งถ้าบทความนั้นมีประโยชน์มันจะสร้าง social impact ได้มากขึ้นด้วย

สรุป ถ้าอยากให้คนแชร์มากๆ ควรเขียนบทความให้ยาวพอเหมาะกับเนื้อหา และ เนื้อหานั้นมีประโยชน์ต่อผู้คน

2. รูปภาพนั้นสำคัญที่สุด

อันนี้ ผมเชื่อว่า หลายๆคนคงรู้กันแล้ว ว่าโพสที่มีรูปภาพ มักน่าสนใจกว่า โพสที่มีแต่ข้อความ โดยจากผลวิเคราะห์พบว่า โพสที่มีภาพประกอบนั้น จะช่วยกระตุ้นให้ผู้คนมาให้ความสนใจ และ แชร์โพสนั้นมากยิ่งขึ้น

โดยจากกราฟนี้ (เปรียบเทียบจำนวนการแชร์ระหว่าง โพสที่มีภาพ VS โพสที่ไม่มีภาพ)

ขอบคุณภาพ https://cdn-images-1.medium.com/max/800/0*mVn1t1pN3RnBQaPB.png

จากกราฟจะเห็นว่า จำนวนการแชร์ของโพสที่มีรูปภาพนั้น สูงมากกว่า โพสที่มีแต่เนื้อหาทื้อๆ อยู่หลายเท่าตัวเลยทีเดียว ซึ่งก็แน่นอนว่า การมีภาพประกอบในโพสนั้น น่าจะช่วยสร้างความสนใจ ยิ่งถ้าภาพประกอบนั้น มีสีสันโดดเด่นสะดุดตา หรือ เป็นภาพที่มีการนำเสนอที่น่าสนใจ การให้ความสนใจ และ ยอดแชร์ก็จะเพิ่มขึ้น

สรุป ถ้าอยากให้ยอดไลค์ ยอดแชร์เยอะๆ โพสของคุณ คุณก็ควรใส่ใจกับภาพประกอบในโพสของคุณให้มากขึ้น

3. อารมณ์มีผลต่อการแชร์

จากการวิเคราะห์บทความกว่า 20,000 และแบ่งแยกอารมณ์ของบทความออกเป็นอารมณ์ต่างๆ ตั้งแต่ เศร้า , สนุก , เรียกเสียงหัวเราะ , โกรธ และ มีความสุข

ขอบคุณภาพ https://cdn-images-1.medium.com/max/800/0*PPz-dQTnlp3JLc8P.png

จะเห็นว่า 3 อารมณ์ที่มีการแชร์มากที่สุด คือ

ความกลัว ตื่นตนก (Awe) — 25.3%
สร้างเสียงหัวเราะ ( Laughter) — 17.8%
สาระบันเทิง (Amusement) — 15.4%

และมีบทความที่มีอารมณ์ เศร้า โกรธ และเซอร์ไพรส์ ได้รับการแชร์น้อยที่สุด

โดยทาง New York Times ได้เคยพูดถึง เหตุผลที่ทำให้ผู้คนแชร์ และให้ความสนใจกับบทความไว้ดังนี้

  • มันสร้างคุณค่า
  • ก่อให้เกิดการพัฒนาความสัมพันธ์
  • ช่วยพัฒนาตัวตน
  • บอกเราความเป็นตัวตน

เคยมีประเด็นที่น่าสนใจว่า ทำไมโพสประเภท ควิซ (ให้เราเข้าไปตอบคำถาม เพื่อแชร์ผลลัพต์แบบใน Dek-D) ผู้คนถึงมักชอบแชร์กัน เหตุผลหลักๆอย่างหนึ่ง มาจากการที่ว่า พวกเขาต้องการสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง และ บอกเราความเป็นตัวตนของพวกเขาให้สังคมได้รู้จัก เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับผู้คนมากยิ่งขึ้น

สรุป ถ้าอยากเขียนบทความให้มีคนสนใจมากๆ เราควรสอดแทรกอารมณ์เข้าไปในบทความ และ บทความนั้นต้องให้คุณค่าอะไรบางอย่างกับคนที่มาอ่าน

4. ยิ่งอ่านง่าย ยิ่งแชร์เยอะ

เราทุกคนล้วนชอบ บทความ หรือ โพส ที่อ่านง่าย ย่อยง่ายกันอยู่แล้ว และยิ่งบทความนั้นมีความน่าสนใจด้วย เรายิ่งอยากที่จะแชร์ต่อเป็นธรรมดา

โดยหากนำบทความมาแบ่งแยกตามประเภท และ สังเกตจำนวนยอดแชร์จะพบว่า

ขอบคุณภาพ https://cdn-images-1.medium.com/max/800/0*m3CJDhnFHpPPKxoO.png

ประเภทของบทความ หรือ โพสที่มีการแชร์มากที่สุด คือ ลิสต์ และ infographic เหตุผลง่ายๆ เลยก็คือ เพราะเนื้อหาพวกนี้ ถูกย่อยให้เข้าใจง่ายแล้ว คนที่เข้ามาอ่าน แทบจะเข้าใจได้ในทันที ตัวอย่างบทความประเภทลิสต์ก็เช่น 10 หนังดีที่คุณควรดู , 7 สิ่งที่ควรรู้ ถ้าอยากเขียนให้คนแชร์เยอะ เป็นต้น

โดยเฉพาะถ้าเรามีเนื้อหาที่น่าสนใจ และผู้คนเข้ามาอ่าน รับรองได้ว่า ยอดการแชร์จะต้องเพิ่มขึ้นแน่นอนครับ

สรุป ย่อยเนื้อหาให้อ่านง่าย และ น่าสนใจ ช่วยกระตุ้น การให้ความสนใจได้มากขึ้น

5. ความไว้ใจนั้น สำคัญที่สุด!!

สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้ เนื้อหา หรือ รูปแบบการนำเสนอ ก็คือ ความไว้ใจของผู้คนที่มีต่อผู้เขียนบทความ

ขอบคุณภาพ https://cdn-images-1.medium.com/max/800/0*bchpw8ejlRNSpR2t.png

จากกราฟจะเห็นว่า สังคมออนไลน์ เช่น Twtter , Google+ หรือ LinkedIn จำนวนการแชร์บทความที่มีประวัติผู้เขียน จะมียอดแชร์มากกว่า ของบทความที่ไม่มีการเล่าประวัติผู้เขียน

โดยจะสังเกตได้ว่า ยอดการแชร์บน Facebook ของทั้งบทความทั้ง 2 รูปแบบ มีจำนวนเท่านั้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ Facebook เป็นสังคมออนไลน์แบบปิด คือ บทความหรือการแชร์ส่วนใหญ่ เกิดขึ้นจากเพื่อนของเราเอง จึงมีความไว้ใจในระดับนึงอยู่แล้ว แต่กับ Twitter , Google+ หรือ LinkedIn ซึ่งเป็นสังคมออนไลน์ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ เพื่อนของเราเท่านั้น ยอดการแชร์ของบทความ 2 รูปแบบจึงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน

สรุป ประวัติผู้เขียนนั้น สำคัญ มันช่วยเพิ่มความไว้ใจให้กับผู้อ่าน ทำให้พวกเขากล้าที่จะแชร์บทความของเรามากขึ้น

6. อยากแชร์เยอะ ให้โพสวันอังคาร

ถ้าคุณกำลังประสบปัญหา ไม่รู้ว่า จะเลือกโพสบทความวันไหนดี วันอังคาร คือวันของคุณ

ขอบคุณภาพ https://cdn-images-1.medium.com/max/800/0*ol_FIwnJxydGMJwc.png

จากกราฟจะเห็นว่า วันจันทร์ และ วันอังคาร คือวันที่มียอดการแชร์สูงที่สุด จึงเป็นวันที่เหมาะหากจะลงบทความ ตรงกันข้าม วันเสาร์ อาทิตย์ กลายเป็นวันที่มียอดการแชร์ต่ำที่สุด

สรุป โพสวันอังคาร

สิ่งที่ผมได้เรียนรู้

มีคำๆหนึ่ง ในบทความต้นฉบับ ที่ผมสนใจมากๆคือ คำว่า Snowball Effect ผมจึงลองไปหาข้อมูลว่า มันคืออะไร? และอยากมาแชร์เพิ่มเติมให้เพื่อนๆได้รู้กัน

Snowball Effect คือ รูปแบบการขยายตัวของบางสิ่งบางอย่าง ที่เริ่มต้นจากจุดเล็กๆที่ดูเหมือนไม่สำคัญ เหมือนกับ ลูกบอลหิมะที่กลิ้งลงจากภูเขา ที่จะขยายตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จากหิมะที่มันกลิ้งผ่าน

ซึ่งมันไม่ต่างอะไรกับบทความที่เราเขียน ที่เริ่มต้นจากบทความที่เราเขียนขึ้น เพื่อหวังจะกระตุ้นบางอย่างในสังคม และสุดท้าย หากผู้คนมาให้ความสนใจ มียอดไลค์ ยอดแชร์เป็นจำนวนมาก จากแค่บทความ มันก็จะกลายเป็น Social Impact ที่กระตุ้นผู้คนในวงกว้างได้นั่นเอง

ขอบคุณที่มา

--

--